วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สาระสำคัญ
เครื่องมือช่วยค้น คือรายการหรือบัญชีรายชื่อของข้อมูลสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อทุกประเภทที่มีอยู่ในห้องสมุดแต่ละแห่ง ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับความต้องการ เครื่องมือช่วยค้นแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ บัตรรายการ ดรรชนีวารสาร และฐานข้อมูล

บัตรรายการ
ความหมายของบัตรรายการ
บัตรรายการ หมายถึง เครื่องมือช่วยค้นในรูปบัตรขนาด 3x5 นิ้ว ซึ้งบันทึกข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม หรือรายละเอียดของวัสดุนิเทศอื่นๆ ที่ห้องสมุดจัดหามาบริการผู้ใช้ และเป็นคู่มือช่วยค้นหาสารนิเทศในห้องสมุด
ประโยชน์ของบัตรรายการ
ทำให้ผู้ใช้ทราบถึง
1. เลขเรียกหนังสือ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาหนังสือจากชั้น
2. ชื่อหนังสือที่ต้องการว่ามีในห้องสมุดหรือไม่
3. ชื่อผู้แต่งหนังสือที่ต้องการ และผู้แต่งหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด เป็นการสะดวกแกผู้ใช้ที่จะค้นคว้า
4. เรื่องราวหรือประเภทของวิชาต่างๆ ที่ต้องการ และของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุดทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกที่จะรวบรวมหรือค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเรื่องราวเดียวกัน
5. รายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม เช่นชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักงานพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ฯลฯ เป็นแนวทางให้ผู้อ่านรู้จักหนังสือแต่ละเล่ม

ประเภท/ชนิดของบัตรรายการ
บัตรรายการที่มีในตู้บัตรรายการแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
1. บัตรผู้แต่ง (Author Card) คือ บัตรที่มีชื่อผู้แต่งอยู่บรรทัดแรกของบัตร ชื่อส่วนใหญ่จะเป็นชื่อบุคคล บางครั้งจะเป็นชื่อสถาบัน หน่วยงานราชการ สมาคม ชื่อที่ปรากฏอาจเป็นชื่อของผู้แต่งจริงๆ หรืออาจเป็นผู้แต่งร่วม (กรณีที่มีผู้แต่งหลายคน) หรืออาจเป็นชื่อผู้แปล ผู้วาดภาพ หรือผู้ทำหน้าที่บรรณาธิการของหนังสือนั้นๆ

บัตรผู้แต่ง




2. บัตรชื่อเรื่อง (Title Card) คือบัตรที่มีชื่อเรื่องของหนังสืออยู่บรรทัดแรกของบัตรข้อความอื่นๆ เหมือนบัตรผู้แต่งทุกประการ แต่ไม่มีแนวสืบค้น



3. บัตรหัวเรื่อง (Subject Card) คือบัตรที่มีคำ หรือวลีที่เป็นหัวเรื่องอยู่บรรทัดแรกของบัตรสังเกตได้คือ จะพิมพ์ด้วยตัวหนา หรือขีดเส้นใต้กำกับหัวเรื่อง ส่วนหัวเรื่องภาษาต่างประเทศจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด





4. บัตรแจ้งหมู่ หรือบัตรทะเบียน (Shelflist Card) คือบัตรที่มีรายการต่างๆ เหมือนบัตรผู้แต่งแต่ไม่มีแนวสืบค้น และมีเลขทะเบียนหนังสือเพื่อบอกว่า หนังสือนั้นเข้ามาห้องสมุดเป็นเล่มที่เท่าใด เป็นประโยชน์สำหรับบรรณารักษ์ คือ ช่วยให้ทราบว่า ห้องสมุดมีหนังสือแต่ละหมวดกี่เล่มเพราะบัตรนี้จะเรียงตามลำดับหมู่



5. บัตรโยง (Cross Reference Card) คือ บัตรที่แจ้งให้ผู้ใช้ห้องสมุดค้นหาสิ่งที่ต้องการจากบัตรอื่นที่มีข้อความบอกไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วนมี 2 ชนิด คือ


5.1 บัตรโยง “ดูที่ หรือ ‘‘see” จะโยงจากคำหรือข้อความที่ห้องสมุดไม่ใช้ไปยังคำ หรือ ข้อความที่ใช้บัตรรายการ โดยใช้คำว่า “ดูที่ หรือ “see” เป็นคำโยงมี 2 ประเภท คือ
ก.โยงชื่อผู้แต่ง หนังสือที่ผู้แต่งใช้นามแฝง โดยเฉพาะหนังสือนวนิยาย ห้องสมุดใช้นามจริงของผู้แต่งลงในบัตรรายการ แต่ผู้อ่านมักไม่ทราบนามจริง ห้องสมุดต้องทำบัตรโยงจากชื่อที่เป็นนามแฝงไปหานามจริง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการจากนามจริงได้





ข. โยงหัวเรื่อง ใช้โยงหัวเรื่องที่ไม่ใช้ในห้องสมุดไปยังหัวเรื่องที่เป็นแบบแผนใช้กันทั่วไปในห้องสมุด





5.2 บัตรโยง “ดูเพิ่มเติมที่ หรือ “see also” เป็นบัตรที่แนะนำ ให้ค้นเรื่องราวอื่นๆ ที่มีเรื่องราวสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หรือให้ค้นเรื่องเพิ่มเติมจากที่อื่นๆ เพื่อจะได้เรื่องราวที่กว้างขวางขึ้น





6. บัตรเพิ่มอื่นๆ (Added Card) คือ บัตรที่ทำเพิ่ม เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ กรณีที่จำชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง เรื่องราวของหนังสือไม่ได้ แต่จำรายการอื่นๆ ได้ เช่น ชื่อผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล ผู้รวบรวม บัตรเหล่านี้มีรายการต่างๆ เหมือนบัตรผู้แต่งและมีรายการชื่อผู้แต่งร่วม ผู้แปล ผู้รวบรวม อยู่บรรทัดแรกของบัตร แต่ไม่มีแนวสืบค้น





ส่วนต่างๆ ของบัตรรายการ
1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number) ประกอบด้วยเลขหมู่หนังสือ อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง (กรณีเป็นคนไทย) หรืออักษรตัวแรกของชื่อสกุล (กรณีเป็นคนต่างประเทศ) เลขประจำตัวผู้แต่ง อักษรตัวแรกของชื่อหนังสือ
2. ชื่อผู้แต่ง (Author’s Name) หมายถึง ผู้แต่งหนังสือ หรือผู้รับผิดชอบในการจัดทำหนังสือเล่มนั้น อาจเป็นชื่อบุคคล สถาบัน หน่วยงานเอกชน ฯลฯ
ผู้แต่งที่ลงในบัตรรายการ จะใช้ชื่อเต็มของผู้แต่ง ตามด้วยนามสกุล คำนำหน้าแสดงเพศ
ยศ ตำแหน่งทางวิชาการจะไม่ลง ยกเว้นบรรดาศักดิ์ เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, ม.ร.ว.
ภิญโญ สาธร
ส่วนผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ จะใช้ชื่อสกุลขึ้นก่อน คั้นด้วยเครื่องหมายจุลภาคตามด้วยชื่อต้น เช่น
Dewey , Melvil
Carter , Jimmy
3. ชื่อเรื่อง (Title) ส่วนนี้จะย่อหน้าใหม่ ชื่อเรื่องของหนังสือ จะนำมาจากหน้าปกในของหนังสือ จะลงทั้งชื่อเรื่องเต็ม และชื่อเรื่องรอง
4. ครั้งที่พิมพ์ (Edition) หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกจะไม่ลงในบัตรรายการ จะลงเฉพาะหนังสือที่พิมพ์แต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป
5. พิมพ์ลักษณ์ (Imprint) คือรายละเอียดของการพิมพ์ได้แก่
5.1สถานที่พิมพ์ (Place of Publication) หมายถึง ชื่อเมือง รัฐ จังหวัด ประเทศ ที่จัดพิมพ์
5.2 สำนักพิมพ์ (Publisher) คือ ผู้จัดพิมพ์ โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ หน่วยงานราชการ เอกชน
5.3 ปีพิมพ์ (Date of Publisher) หมายถึงปีที่จัดพิมพ์หนังสือ พ.ศ. หรือ ค.ส.
6. จำนวนหน้า หรือจำนวนเล่ม (Number of pages , of Volumes) หมายถึง จำนวนหน้า หรือ จำนวนเล่ม (กรณีหลายเล่มจบ) มีภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ ชื่อชุดหนังสือ (มักจะวงเล็บต่อท้ายจากส่วนนี้)
7. โน้ต (Note) หมายถึงข้อคาวามที่บันทึกเพิ่มไว้ในบัตรรายการ เพื่อแนะนำหนังสือบางเล่มหรือรายละเอียดเพิ่มเติมแก่ผู้ใช้ห้องสมุด เช่น บรรณานุกรม การพิมพ์ในโอกาสต่างๆ เช่น
“บรรณนุกรมหน้า 124-126”
“พิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองศิริราชสมบัติ...”
8. แนวสืบค้น (Tracing) ข้อความนี้จะอยู่ส่วนล่างของบัตร หรือถ้าข้อความยาวก็จะปรากฏอยู่หลังบัตร
แนวสืบค้น คือส่วนที่บอกว่า นอกเหนือจากบัตรหลัก/บัตรผุ้แต่งแล้ว มีบัตรรายการชนิดใดอีกที่จะช่วยให้ผุ้ใช้สามารถหาหนังสือเล่มนั้นได้อีก เช่น ต้องมีบัตรหัวเรื่องบัตรชื่อเรื่องบัตรผู้แต่งร่วมบัตรผู้แปล เป็นต้น

การเรียงบัตรรายการ
เมื่อห้องสมุดได้รับสารนิเทศเข้ามาแต่ละชื่อเรื่อง ก็จะทำบัตรรายการขึ้น เพื่อสะดวกแก่ผู้ใช้ในการค้นหา จากนั้นจึงนำไปจัดเรียงไว้ในตู้บัตรรายการ ซึ่งนิยมเรียงเป็น 2 แบบ คือ
1. การเรียงแบบพจนานุกรม (Dictionary Catalog) การรียงบัตรแบบนี้จะเรียงบัตรทุกชนิด คือ บัตรผู้แต่ง บัตรชื่อเรื่อง บัตรหัวเรื่อง บัตรผู้แปล บัตรโยง และบัตรอื่นๆ ไว้ด้วยกันตามลำดับพจนานุกรม โดยถือเอาคำแรกของข้อความ ซึ่งอยู่บรรทัดแรกของบัตรแต่ละบัตรเป็นหลัก
2. การเรียงบัตรแบบแยกตามชนิดของบัตร (Divided Catalog) เป็นการเรียงบัตรโดยแยกบัตรออกเป็น บัตรผู้แต่ง บัตรชื่อเรื่อง บัตรหัวเรื่อง แล้วจึงเรียงบัตรแต่ละประเภทตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม
หลักการเรียงบัตรรายการภาษาไทย
1. เรียงบัตรตามลำดับอักษรพจนานุกรม โดยไม่คำนึงถึงเสียงอ่านของคำนั้นๆ เช่นทราบเรียงโดย คิดว่าคำนี้ขึ้นต้นด้วย ท อยู่กับก๋ง เรียงไว้ที่ตัว อ
2. อักษร ฤ ฦๅ เรียงไว้หลัง ร
ฤ ฦๅ เรียงไว้หลัง ล
เช่น โรงเรียงสาธิต
ฤดูเก็บเกี่ยว
ฤๅษีดัดตน
โลมาเพื่อนแก้ว
3. คำที่มีรูปพยัญชนะเหมือนกันให้เรียงไว้ก่อน แล้วจึงเรียงคำที่มีรูปสระประสมตามหลัง เช่น
ดอกสร้อยสุภาษิต
ดอยสุเทพแดนสวรรค์
ดักแด้ที่รัก
ดาวดึงส์
ดินดี
แดนนรก
4. การลำดับสระที่ผสมอยู่กับพยัญชนะ จะลำดับตามรูปสระดังนี้ (จะใช้พยัญชนะ ก เป็นตัวอย่างให้สระผสม)
กะ / กั- / กัว / กัววะ / กา / กำ / กิ / กี / กึ / กื / กุ / กู / เก / เกะ / เกา / เกาะ / เกิ- / เกี- / เกีะ / เกือ / แก / แกะ / โก / โกะ / ใก / ไก
5. ถ้าพยัญชนะตัวแรกหรือคำแรกของข้อความเหมือนกัน ให้พิจารณาพยัญชนะตัวถัดไป เช่น
พืชกับปุ๋ย
พืชไร่
พืชสวน
หลักการศึกษา
หลักพุทธศาสนา
หลักภาษไทย
กรณีผู้แต่งเป็นชื่อบุคคล จะดูคำที่เป็นชื่อก่อนคำที่สะกดเหมือนกัน แต่คำสั้นกว่าจะเรียงมาก่อน ถ้าชื่อเหมือนกันจะดูจาก อักษรตัวแรกของนามสกุล เช่น
ชวน ทองประไพ
ชวนหลีกภัย
ชวนชมวิสัยจอน
ชวนชม สุขสมบูรณ์
6. บัตรผู้แต่งคนเดียวกันที่แต่งหนังสือหลายเล่ม จะเรียงตามลำดับอักษรของชื่อเรื่อง ซึ่งอยู่บรรทัดที่ 2 ของแต่ละบัตร เช่น
เพ็ญแข วัจนสุทร
คุณผุ้หญิง
เพ็ญแข วัจนสุทร
ทางสุดท้าย
เพ็ญแข วัจนสุทร
ไผ่ลอกกอ
7. หนังสือชื่อเรียงเดียงกัลป์ แต่ผู่แต่งคนเดียวกัน แต่พิมพ์หลายครั้ง จะเรียงปีที่พิมพ์ล่าสุดไว้ก่อนเช่น
วิจิตรวาทการ , หลวง
มหัศจรรย์ทางจิตร...2532.
วิจิตรวาทการ , หลวง
มหัศจรรย์ทางจิตร...2529.
8. หนังสือที่มีชื่อเรียงเป็นตัวอักษร และต้องอ่านตัวแรกออกมา เช่น
7 ปีในกัมพูชา (จะเรียงไว้ที่ จ)
3 พันคนสำคัญของโลก (จะเรียงไว้ที่ ส)
สายหมอกเรื่อน
9. อักษรย่อให้เรียงไว้ก่อนคำเต็มในหมวดอักษรนั้นๆ ถ้าตัวแรกเป็นอักษรย่อเหมือนกันให้ดูลำดับถัดไป เช่น
น.นิรมล
น.ประภาสถิต
น.ม.ส.
น.มุ่งการดี
นักการเมืองผู้เรืองโรจน์
นานาจิตตัง
10. คำย่อจะเรียงตามที่สะกดเต็ม เช่น
ดร.เรียงที่คำว่า ด๊อกเตอร์
มร. เรียงที่คำว่ามิสเตอร์
11. บัตรหัวเรื่อง จะเรียงหัวเรื่องเดียวไว้ก่อน เรียงหัวเรื่องย่อยไว้ทีหลัง จากนั้นเรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่องย่อยอีกที เช่น
เด็ก
เด็ก- การสงเคราะห์
เด็ก-จิตวิทยา
เด็ก- โภชนาการ
12. บัตรหัวเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ จะเรียงตามลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น
ไทย-ประวัติศาสตร์
ไทย-ประวัติศาสตร์-สมัยแรกเริ่มก่อน พ.ศ.1800
ไทย-ประวัติศาสตร์-กรุงสุโขทัย )
ไทย- ประวัติศาสตร์-พ.ศ. 2411- 2453 (รัชการที่ 5)
หลักการเรียงบัตรรายการภาษาอังกฤษ
การเรียงบัตรรายการภาษอังกฤษ มีกฎเกณฑ์เหมือนกับ บัตรรายการภาษาไทยที่กล่าวแล้วแต่มีบางอย่างที่เพิ่มเติมดังนี้
1. เรียงตามลำดับตัวอักษรของคำแรก คำแรกเหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับอักษรของคำถัดเช่น New
2. คำแรกของข้อความที่ขึ้นต้นด้วย article ให้เรียงตามคำที่ตามมาโดยไม่คำนึงถึง article เช่น A History of China
The Merchant of Venice
The Sea around us
3. คำที่มีเครื่องหมาย & ให้เรียงเหมือน and
4. คำที่มีเครื่องหมาย ’s หรือคำที่ตัดสระ หรือพยัญชนะบางตัวออก ให้เรียงตามตัวอักษรที่ปรากฏ โดยไม่คำนึงถึงเครื่องหมายเช่น
Who ’s Who เรียงเหมือน Whos who
5. คำย่อต่าง ๆ เช่น คำนำหน้าชื่อบุคคล ยศ เมือง ประเทศให้เรียงโดยสะกดเป็นคำเต็มก่อน เช่น Col. Johnson เรียงไว้ที่ Colonel
Dr. เรียงไว้ที่ Doctor
Gt.Brit เรียงไว้ที่ Great Britain
Mt. Everest เรียงไว้ที่ Mountain Everest

ดรรชนีวารสาร
ดรรชนีวารสาร เป็นเครื่องมือช่วยค้นบทความที่พิมพ์ในวารสาร นิตยสาร วารสารที่ห้องสมุดแต่ละแห่งละแห่งบอกรับ เมื่อเวลาผ่านไป ห้องสมุดจะนำมาเย็บเล่มรวมกันในแต่ละปีเป็นหนึ่งเล่ม สองเล่ม หรือสามเล่มแล้วแต่ความหนา เมื่อเย็บรวมเล่มแล้ว จะนำไปให้บริการในลักษณะชั้นปิด หรือเปิด แล้วแต่นโยบายของห้องสมุดนั้นๆ และห้องสมุดจะทำดรรชนีวารสารเพื่อให้ผู้ใช้
มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบทความจากวารสาร นิตยสาร

ประโยชน์ของดรรชนีวารสาร
1. ช่วยให้ทราบถึงบทความที่ต้องการว่า อยู่ในวารสาร นิตยสารประเภทใดบ้าง
2. ช่วยรวบรวมบทความเฉพาะเรื่องในวารสาร และสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์
และครบถ้วน
3. เป็นคู่มือสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด และบรรณารักษ์ในการศึกษาค้นคว้า และให้บริการตอบ
คำถาม

4. เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการการตัดสินใจ ในการเลือกอ่านบทความที่ต้องการ โดยพิจารณา
จากสาระสังเขปที่ประกอบในดรรชนี

ประเภทของดรรชนีวารสาร
ดรรชนีวารสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บัตรดรรชนีวารสาร
2. สิ่งพิมพ์ดรรชนีวารสาร
1. บัตรดรรชนีวารสาร เป็นบัตรขนาด 3X 5 นิ้ว เช่นเดียวกับบัตรรายการทำขึ้นเพื่อใช้ค้นบทความจากวารสารที่มีในห้องสมุด เรียงไว้ในตู้ดรรชนีวารสารจำแนกตามประเภทของบัตร เช่นเดียวกับบัตรรายการ แต่นิยมทำกันเพียง 2 ประเภท คือบัตรผู้เขียนบทความ(บัตรผู้แต่ง) และบัตรหัวเรื่อง

ตัวอย่าง บัตรดรรชนี ผู้เขียนบทความ (ผู้แต่ง)



2. สิ่งพิมพ์ดรรชนีวารสาร ห้องสมุดที่มีวารสารจำนวนมาก จะจัดเตรียมดรรชนีวารสารในรูปสิ่งพิมพ์ ซึ่งผลิตโดยหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยค้นบทความในวารสารสาขาวิชาต่างๆ สิ่งพิมพ์ดรรชนีวารสาร แบ่งตามขอบเขตเนื้อหาได้ 3 ประเภท คือ
2.1 ดรรชนีวารสารทั่วไป เป็นดรรชนีซึ่งรวบรวมรายชื่อบทความจากวารสารหลายประเภท หลายสาขาวิชา ทั้งที่เป็นวารสารวิชาการ วารสารเฉพาะวิชา และนิตยสาร
2.2 ดรรชนีวารสารเฉพาะวิชา เป็นดรรชนีวารสารที่มีขอบเขตในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ช่วยค้นหาบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ ทำให้ได้บทความที่มีเนื้อหาเฉพาะมากขึ้น
2.3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ ช่วยค้นบทความที่ปรากฏในวารสารเฉพาะชื่อใดชื่อหนึ่งเท่านั้น จะรวบรวมรายชื่อบทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารชื่อนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องมือช่วยค้นที่สามารถค้นได้อย่างละเอียด ดรรชนีประเภทนี้อาจปรากฏอยู่ในวารสารฉบับสุดท้ายของปีหรือจัดพิมพ์เป็นฉบับเพิ่มเติม เป็นเล่มแยกต่างหาก

ฐานข้อมูล
ความหมาย
ฐานข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น โดยแสดงผลทางจอ หรือทางเครื่องพิมพ์
ประเภท
ประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามลักษณะการใช้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ฐานข้อมูลต้นเรื่อง เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลในลักษณะเนื้อหาฉบับเต็ม สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ทันที ได้แก่ ฐานข้อมูลพระไตรปิฎก เป็นต้น
2. ฐานข้อมูลอ้างอิง เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุดที่จัดทำขึ้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 ฐานข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรม เช่นหนังสือ งานวิจัย จะให้ข้อมูลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เลขหน้า ลักษณะรูปเล่ม วิทยานิพนธ์จะให้ข้อมูลชื่อผู้เขียน ชื่อวิทยานิพนธ์ คณะมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา และปีพิมพ์
2.2 ฐานข้อมูลดรรชนีมีบทความวารสาร เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรมของบทความวารสาร ได้แก่ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ ปีพิมพ์และเลขหน้าของบทความในวารสาร
บริการฐานข้อมูล
1. บริการสืบค้นจาก ซีดี-รอม เป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะ ซีดี-รอม อาจเป็นข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือข้อมูลแบบเนื้อหาฉบับเต็ม ซึ่งบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นจำหน่ายเช่น ซีดี-รอม กฤตภาคข่าวของศูนย์ข้อมุลมติชน ซึ่งรวบรวมข่าวสารจากหนังสือพิมพ์รายวัน ซีดี-รอม ข่าวสารประจำปีของสำนักพิมพ์สยามบรรณ เป็นต้น
2. บริการสืบค้นสารนิเทศผ่านสื่อทางไกล โดยผ่านระบบเครือข่าย เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (สารนิเทศมิได้จัดเก็บที่ห้องสมุดที่ผู้ใช้กำลังค้นคว้าอยู่) บริษัทต่างๆจัดทำขึ้นเสนอกับหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานใดต้องการก็ต้องสมัครเป็นสมาชิก และต้องเสียค่าสมาชิกตามอัตราที่ตกลงกัน ตัวอย่างฐานข้อมูลได้แก่
AGRIS – ฐานข้อมูลทางด้านการเกษตร และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
DIALOG – ฐานข้อมูลซึ่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ในรูปบรรณานุกรมดรรชนี สาระสังเขป
DOA – ฐานข้อมูลที่ให้รายละเอียดของสารนิเทศในรูปแบบบรรณานุกรม และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และเอกทุกสาขา
ERIC – ฐานข้อมูลทางการศึกษา และสังคมศาสตร์
THAI STANDARD – ฐานข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยการใช้บริการฐานข้อมูลประเภทนี้ สามารถใช้บริการได้จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหรือจากหน่วยงานเฉพาะ
3. บริการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดตาละแห่งจัดทำขึ้นเอง หรือโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น ฐานข้อมูลบัตรรายการ ฐานข้อมูลดรรชนีที่ห้องสมุดมีบริการ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคสมุดสงครามเราจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรม ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป CMS 2001

การสืบค้นฐานข้อมูล
1. กำหนดคำค้น คือ เมื่อต้องการเรื่องอไร ให้สรุปความงามคิดเราเอง เป็นคำ หรือวลี และคำที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องการค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ คำที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน คือโรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราสามารถนำคำศัพท์เหล่านี้มาใช้ในการสืบค้นข้อมูลได้ในปนระเภทของหัวเรื่อง
2. ศึกษาวิธีการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล เช่นจากโปรแกรม จากคู่มือการค้น คำแนะนำการใช้ ซึ่งติดตั้งไว้ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจากแผนกบริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้า
3. พิจารณาเลือกใช้ประเภทของเครื่องมือ ให้ตรงกับประเภทของข้อมูล เช่นต้องการค้นหาข้อมูลประเภทหนังสือ เรื่องเกี่ยวกับ การเพิ่มผลผลิต แต่ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และชื่อหนังสือ ผู้ใช้ห้องสมุดต้องค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหนังสือ โดยค้นจากหัวเรื่อง หรือ คำสำคัญ เช่นเดียวกับการค้นบัตรรายการ
ในการสืบค้นข้อมูล ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องท่องจำขั้นตอนการสืบค้น แต่ควรฝึกฝน และใช้งานอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าห้องสมุดแต่ละแห่งจะมีความแตดต่างกันทั้งในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้วิธีการค้น การประมวลผลที่หน้าจอก็ตาม แต่หลักการในการใช้เครื่องมือช่วยค้นจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน